ปั๊มคอนกรีต

ปั๊มคอนกรีต คืออะไร

ปั๊มคอนกรีต (Concrete Pump) คือเครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตผสมเสร็จจากรถโม่ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการเทคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็น พื้นอาคาร ลาน เสา คาน สันเขื่อน หรืออื่นๆตามที่ต้องการ
การใช้ปั๊มคอนกรีต ในการลำเลียงคอนกรีต ได้ประโยชน์มากกว่าการใช้แรงงานคน, โมบายเครน, หรือทาวเวอร์เครน เนื่องจาก ใช้คนน้อยกว่า สามารถลำเลียงคอนกรีตได้มากกว่าและเร็วกว่า และยังสามารถส่งคอนกรีตไปตามจุดเล็ก และที่สูงได้


ปั๊มคอนกรีต



ปั๊มคอนกรีต มีกี่แบบ

โดยหลักใหญ่แล้ว ปั๊มคนกรีตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประภท ได้แก่

  1. ปั๊มบูม
  2. ปั๊มลาก
  3. ปั๊มโมลี่ หรือ ซิตี้ปั๊ม

ปั๊มคอนกรีต ชนิดปั๊มบูม


ปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม

ปั๊มบูม คือปั๊มคอนกรีตที่ติดตั้งบนรถบรรทุก มีชุดขับปั๊มของตนเอง โดยอาศัยกำลังเครื่องยนต์ของรถบรรทุกในการส่งกำลังให้ชุดปั๊มคอนกรีต และมีแขนส่งคอนกรีตในชุด โดยรุ่นของปั๊มบูมจะเรียกตามความยาวของแขนปั๊ม หรือบูมนั่นเอง เช่น  ปั๊มบูม 40 ม คือ เมื่อกางบูมในแนวตรงชี้ขึ้นฟ้า ความสูงจากพื้นถนนถึงปลายบูมจะสูง 40ม. นั่นเอง ปั๊มคอนกรีตชนิดปั๊มบูม ขนาดที่เป็นที่นิยม ได้แก่ 23 ม. – 40 ม. ทั้งนี้ปั๊มบูมที่ยาวที่สุดในโลก คือขนาด 101 ม. ของยี่ห้อซูมไลอ้อน นั่นเอง การเลือกใช้ปั๊มบูมให้ดูระยะการทำงานที่ต้องการทำงานเป็นหลัก นอกจากระยะเอื้อมแล้วต้องดูพื้นที่ในการตั้งรถปั๊มด้วย

ปั๊มบูม

การดูระยะเอื้อมของปั๊มบูม หรือระยะที่ปั๊มบูมทำงานได้ และระยะพื้นที่ที่ต้องการ สามารถดูได้จากไดอะแกรมแบบนี้ หรือ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเช่าปั๊มคอนกรีต หรือซื้อปั๊มคอนกรีตได้ที่ ฝ่ายขาย 02-954-7800, 088-022-3456, 088-022-3455

ปั๊มคอนกรีต ชนิดปั๊มลาก

ปั๊มคอนกรีต  ชนิดปั๊มลาก
ปั๊มคอนกรีต ชนิดปั๊มลาก คือ ปั๊มคอนกรีตที่มีเครื่องยนต์และชุดขับปั๊มของตนเอง เพียงไม่มีแขนส่งคอนกรีตหรือบูมติดกับตัว เหมาะกับงานที่ยิงต่อเนื่อง งานโครงการ ที่ระยะปั๊มบูมเอื้อมไม่ถึง เช่น งานอาคารสูง เป็นต้น ปั๊มลากแม้จะมีล้อแต่ไม่เหมาะกับการวิ่งบนถนนระยะทางไกล หากแต่ล้อนั้นมีไว้เพื่อช่วยเรื่องการทรตัว และเคลื่อนที่ภายในระยะทางใกล้ๆ ในอัตราความเร็วต่ำเท่านั้น เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งในโครงการ ดังนั้นการขนส่งปั๊มลากจึงควรใช้รถบรรทุกหรือรถหางลากยกไป การเลือกปั๊มลากให้เลือกกำลังที่เหมาะกับงาน เช่น งานอาคารความสูง 10 ชั้น และ 30 ชั้น ก็ควรใช้ปั๊มคนละรุ่นกัน การเลือกปั๊มที่เล็กกว่างาน จะทำให้งานช้า และเกิดโอกาสท่อตันสูง ในทางตรงกันข้าม หากใช้ปั๊มใหญ่เกินไป ก็มีโอกาสเกิดท่อแตกได้ และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ การใช้งานปั๊มลากต้องใช้ควบคู่กับท่อส่งคอนกรีต ซึ่งท่อส่งคอนกรีตเองก็ต้องเลือกขนาดและความหนาให้เหมาะกับงานด้วย การวางท่อและการยึดท่อส่งคอนกรีตก็เป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้ ควรมีการศึกษาและวางแผนการวางรูปแบบแนวท่อส่งคอนกรีตก่อนเริ่มงาน เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเรื่องท่อที่ไม่จำเป็นออก
สนใจเช่า – ซื้อ ปั๊มคอนกรีต หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ฝ่ายขาย 02-954-7800, 088-022-3456, 088-022-3455

ปั๊มคอนกรีต ชนิดโมลี่ หรือซิตี้ปั๊ม

ปั๊มคอนกรีต  ชนิดโมลี่ หรือซิตี้ปั๊ม
ปั๊มคอนกรีต ชนิดโมลี่ หรือซิตี้ปั๊ม ก็คือปั๊มลากที่เมาติดตั้งบนรถบรรทุก เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย คำถามที่พบบ่อยของปั๊มลากและปั๊มโมลี่คือ ปั๊มได้สูงเท่าไร ปั๊มไหวมั๊ย ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2564)มีอาคารสูงมากมายในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยอาคารที่สูงทีสุดอยู่ที่ประมาณ 3xx เมตร โดยอาคารสูงเหล่านี้ต่างใช้ปั๊มคอนกรีตในการส่งคอนกรีตทั้งสิ้น หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมว่าปั๊มรุ่นไหนเหมาะกับงานของท่าน
กรุณาติดต่อ ฝ่ายขาย 02-954-7800, 088-022-3456, 088-022-3455

ปั๊มคอนกรีต ประเภทปั๊มลากและปั๊มโมลี่ ต้องใช้คู่กับท่อส่งคอนกรีต หรือ เพลสซิ่งบูม หรือ สไปเดอร์ เพื่อส่งคอนกรีตไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ท่อส่งคอนกรีต ต้องเลือกความหนาให้เหมะกับการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วท่อส่งคอนกรีตหนา 4, 7 และ 10 มม.

การต่อท่อคอนกรีตจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก และเมื่อต้องการเปลี่ยนตำแหน่งจะต้องรื้อท่อออกและต่อใหม่ในแนวที่ต้องการเทคอนกรีต ดังนั้นหากต้องเทพื้นกว้าง ซ้ำๆกัน เช่น เทพื้นอาคารสูง ซึ่งต้องเทหลายชั้น จึงมีการนำเอาเพลสซิ่งบูมเข้ามาช่วย เพื่อลดเวลาในการตัดต่อและรื้อท่อ



เพลสซิ่งบูม (Placing Boom)


เพลสซิ่งบูม

เพลสซิ่งบูม

เพลสซิ่งบูม

เพลสซิ่งบูม เปรียบเสมือนแขนบูมของปั๊มบูม ทำหน้าที่ส่งคอนกรีตจากปั๊มคอนกรีต ไปยังตำแหน่งที่ต้องการเทคอนกรีต เพลสซิ่งบูมมีหลายรุ่นหลายขนาด เรียกชื่อรุ่นตามความยาวของแขนบูม เช่น รุ่น 29 ม., 33 ม., 36 ม., 42 ม, และ 45 ม. โดยรุ่น 29 – 36 ม. เป็นแบบไม่มีเคาเตอร์เวธ (หางถ่วงด้านหลัง) ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ในการทำงานมากกว่าแบบมีหางถ่วง นอกจากนี้ในรุ่น 33 ม. ขึ้นไปยังเป็นบูมแบบ 4 พับ ทำให้เข้าถึงพื้นที่ในการทำงานมากกว่า สะดวกในการหยอดเสา และคาน เพลสซิ่งบูมสามารถติดตั้งได้หลายแบบ ทั้งแบบบนพื้น ในช่องลิฟท์ หรือช่องพื้น และเพิ่มระดับความสูงตามระดับอาคารโดยการดีดตัวขึ้นไปด้วยชุดดีดไฮดรอลิก
สนใจเช่า – ซื้อ ปั๊มคอนกรีต เพลสซิ่งบูม ท่อส่งคอนกรีต หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ฝ่ายขาย 02-954-7800, 088-022-3456, 088-022-3455

สไปเดอร์ หรือขาแมงมุม

ทำหน้าที่เหมือนเพลสซิ่งบูม แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ขนาดตั้งแต่ 10 – 19 ม. โดยควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบมือโยก และแบบไฮดรอลิก การใช้งานขาแมงมุม ส่วนมากจะวางไว้บนพื้น และต้องมีการทำฐานรองพื้นให้ดี ให้แน่ใจว่าพื้นสามารถรับน้ำหนักของขาแมงุมได้

สไปเดอร์  หรือขาแมงมุม